โอโซน (OZONE) คืออะไร

Last updated: 30 ต.ค. 2564  |  789 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โอโซน (OZONE) คืออะไร

หลายคนคงได้ยินคำว่าโอโซนจากในห้องเรียนวิชาวิทยาศาสตร์กันมาบ้าง อาจารย์มักจะสอนว่าโอโซน คือ ก๊าซชนิดหนึ่ง มีอยู่ในชั้นบรรยากาศโลก วันนี้เรามาปัดฝุ่นทำความรู้จักโอโซนกันอีกสักครั้ง

โอโซน (Ozone หรือ O3) เป็นโมเลกุลที่ประกอบจากออกซิเจน 3 อะตอม เกิดจากการรวมตัวกันของก๊าซออกซิเจน  กับอะตอมออกซิเจนอิสระ ที่แตกตัวจากก๊าซออกซิเจน โดยการกระตุ้นของรังสีอัลตร้าไวโอเลตซี (UV-C) ปรากฏอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลกโดยที่ชั้นสตราโทสเฟียร์ (Stratosphere) ซึ่งเป็นบรรยากาศที่ระดับความสูงระหว่าง 10 - 50 กิโลเมตรจากผิวดินเป็นชั้นบรรยากาศที่มีโอโซนหนาแน่นที่สุด หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นชั้นที่ผลิตแหล่งก๊าซโอโซน โดยชั้นโอโซนดังกล่าวทำหน้าที่เป็นเกราะคุ้มกัน ปกป้องพืชและสัตว์จากรังสีที่แผ่ออกมาจากดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะรังสีอัลตร้าไวโอเลตบี (UV-B) ซึ่งเป็นรังสีที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและธรรมชาติหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป

 ก๊าซโอโซนถูกค้นพบครั้งแรกโดยนักเคมีชาวดัตช์ ชื่อ วอน มารุม (Van Marum) จากอุปกรณ์จับปริมาณก๊าซ โดยนายมารุมได้กลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์รอบๆ ขั้วผลิตกระแสไฟฟ้าจากอุปกรณ์ชุดทดลองของเขา อย่างไรก็ตาม การค้นพบโอโซนได้ถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในปี ค.ศ. 1840 คือ คริสเตียน ฟรีดริช เชินไบน์ (Christian Friedrich Schönbein) นักเคมีชาวเยอรมัน โดยเขาตั้งชื่อก๊าซตามภาษากรีกคำว่า ozein ซึ่งแปลว่ากลิ่น หลังจากนั้น เครื่องผลิตโอโซนเครื่องแรกได้ถูกผลิตโดย วอน ซีเมนต์ (Von Siemens) ในกรุงเบอร์ลิน (Berlin)

การใช้ประโยชน์จากโอโซนเพื่อชีวิตประจำวัน

ถึงแม้ว่าโอโซนจะเป็นก๊าซที่เกิดได้เองตามธรรมชาติ แต่มนุษย์ก็สามารถผลิตโอโซนขึ้นมาได้เองโดยใช้อากาศและไฟฟ้า ยิ่งถ้าใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูงก็จะยิ่งได้โอโซนที่มีความเข้มข้นมาก ปัจจุบันได้มีการทำให้โอโซนสามารถนำมาใช้ทำประโยชน์ต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น

สามารถใช้ในการบำบัดน้ำเสียได้
ช่วยกำจัดก๊าซพิษ มลพิษต่าง ๆ ในอากาศ ทำให้อากาศบริสุทธิ์
ฆ่าเชื้อโรค เชื้อรา และ แบคทีเรียได้อย่างดีและรวดเร็ว
ข้อควรระวังในการนำโอโซนมาใช้

·      อย่างไรก็ตาม ในการนำโอโซนมาใช้ไม่ว่าจะเพื่ออะไร ก็มีข้อควรระวังเล็กน้อย ดังนี้

·      ไม่ควรใช้โอโซนมากเกินไป เพราะจะกลายเป็นก๊าซพิษได้

·      โอโซนในรูปแบบของเหลวที่มีความเข้มข้นสูง ถ้าเข้าตาหรือโดนผิวหนัง จะก่อให้เกิดการระคายเคืองได้

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้